วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไฟฟ้าเบื้องต้น

วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น
แนวคิดหลัก
    เมื่อต่อหลอดไฟกับแบตเตอรี่ทำให้หลอดไฟสว่าง  แสดงว่าหลอดไฟได้รับพลังงานจากแบตเตอรี่และถ้าได้รับพลังงานมากขึ้นก็จะสว่างมากขึ้น  ขณะที่หลอดไฟสว่างมากขึ้นค่าที่อ่านได้จากโวลต์มิเตอร์ก็เพิ่มมากขึ้นด้วย  ค่าที่อ่านได้จากโวลต์มิเตอร์เป็นค่าความแตกต่างระหว่างพลังงานไฟฟ้าที่ปลายขั้วทั้งสองของหลอดไฟ ซึ่งเรียกว่าความต่างศักย์ไฟฟ้า  ความสว่างของหลอดไฟยังมีความสัมพันธ์กับค่าที่อ่านได้จากอมมิเตอร์  โดยเมื่อหลอดสว่างมากขึ้น  ค่าที่อ่านจากแอมมิเตอร์ก็มากขึ้นด้วย  ค่าที่อ่านได้จากแอมมิเตอร์เป็นค่ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอดไฟและผ่านแอมมิเตอร์  อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้าต่อค่ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำที่มีอุณหภูมิคงตัวจะมีค่าเท่ากับความต้านทางไฟฟ้า  ซึ่งเป็นไปตามกฎของโอห์ม  ลวดตัวนำชนิดเดียวกันที่ยาวเท่ากันแต่มีพื้นที่หน้าตัดต่างกันจะให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ไม่เท่ากัน เพราะค่าความต้านทางไฟฟ้าไม่เท่ากัน  โดยพื้นที่หน้าตัดมากความต้านทานไฟฟ้าจะน้อย  พื้นที่หน้าตัดน้อยความต้านทานไฟฟ้าจะมาก และลวดตัวนำต่างชนิดกันที่ยาวเท่ากันและมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากันจะให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ไม่เท่ากัน
   นักเรียนสามารถอ่านหาความรู้เพิ่มเติมได้จาก
1. http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355203/electroniccur1.htm
2.กฎของโอห์ม http://www.maceducation.com/e-knowledge/2432209100/09.htm
3.การหากำลังไฟฟ้า http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/electric4/topweek7.htm
4.ชนิดและสัญลักษณ์ของตัวต้านทาน http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/electric4/topweek12.htm
5. ไดโอด http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet7/diode_9.htm
6. อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1303


ที่มา  เอกสารสำหรับผู้รับการอบรม  การอบรมครูด้วยระบบทางไกล  หลักสูตรมาตรฐานการอบรมครู  ปีที่ 3

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ

แนวคิดหลัก
    ระบบนิเวศประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นองค์ประกอบทางชีวภาพ  และสิ่งไม่มีชีวิตซึ่งเป็นองค์ประกอบทางกายภาพ  ระบบนิเวศคือระบบที่มีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต  โดยใช้ทรัพยากรในสิ่งแวดล้อมร่วมกัน  ภายในระบบนิเวศมีการถ่ายทอดพลังงานระหว่างสิ่งมีชีวิตเป็นทอด  ๆ  โดยแสดงได้ในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร  และมีการหมุนเวียนสารจากสิ่งแวดล้อมสู่สิ่งมีชีวิตและจากสิ่งมีชีวิตสู่สิ่งแวดล้อม  ซึ่งการถ่ายทอดพลังงานและการหมุนเวียนสารจะเกิดขึ้นควบคู่กัน
    สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กันในลักษณะต่าง  ๆ  เช่นภาวะพึ่งพากัน  ภาวะปริต  ภาวะอิงอาศัย  เป็นต้น  โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายทางชีวภาพมาก
    ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง  ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศ  โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ต่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน  ความหลากหลายทางชีวภาพแบ่งออกได้เป็น  3  ระดับ  ได้แก่  ความหลากหลายของระบบนิเว  ความหลากหลายของชนิดและความหลากหลายทางพันธุกรรม  ซึ่งแต่ละระดับไม่สามารถแยกออกจากกันได้  ความหลากหลายทางชีวภาพมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านอาหาร  ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม  ทำยารักษาโรค  เป็นที่อยู่อาศ
ความเข้าใจคลาดเคลื่อน
 1.  ผู้บริโภคสัตว์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถ้ามีเหยื่อเป็นจำนวนมากในระบบนิเวศถึงแม้ว่าจะปราศจากพืชก็ตาม
(ที่ถูกต้องแล้วสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถ้าปราศจากพืชซึ่งเป็นผู้ผลิต)
2.  แสงอาทิตย์และแก๊สออกซิเจนไม่สามารถผ่านลงสู่แหล่งน้ำได้  ดังนั้นพืชน้ำจึงไม่ใช่ผู้ผลิต
(ที่ถูกต้องแล้ว แสงอาทิตย์และแก๋สออกซิเจนสามารถผ่านลงสู่น้ำได้ และพืชทุกชนิดเป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศ)
3. การที่สิ่งมีชีวิตกินพืชเป็นจำนวนมากกว่าสิ่งมีชีวิตกินสตว์ เป็นเพราะมนุษย์นิยมเลี้ยงสิ่งมีชีวิตกินพืชมากกว่าสิ่งมีชีวิตกินสัตว์
(ที่ถูกต้องแล้ว สิ่งมีชีวิตกินพืชมีจำนวนมากกว่าสิ่งมีชีวิตกินสัตว์ เนื่องจากในธรรมชาติมีการควบคุมจำนวนของผู้ผลิตและผู้บริโภคลำดับต่าง  ๆ  ให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม  กล่าวคือ  ผู้ผลิตมีจำนวนมากที่สุด  สิ่งมีชีวิตกินพืชมีจำนวนมากกว่าสิ่งมีชีวิตกินสัตว์)




ที่มา  เอกสารสำหรับผู้รับการอบรม  การอบรมครูด้วยระบบทางไกล  หลักสูตรมาตรฐานการอบรมครูปีที่ 3