วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การผลิตสื่อการสอนวิทยาศาสตร์

เมื่อวันที่ 27 - 29 เมษายน 2554  ได้ไปอบรมการผลิตสื่อการสอนทางวิทยาศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  โดย อาจารย์พันธุ์ทิพย์  ทิมสุกใส  จึงขออนุญาตนำบทความมาเผยแพร่เพื่อเพื่อนครูนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการสอน   หมายถึง สิ่งใดก็ได้ที่เมื่อผู้สอนนำไปใช้ สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ
ความหมายของนวัตกรรม  หมายถึง  เป็นสิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือปรับปรุงจากกระบวนการเดิม  เพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น  นวัตกรรมจึงเป็นชนิดหนึ่งของสื่อ
ต่อไปนี้ก็เป็นเทคนิคการผลิตสื่อวิทยาศาสตร์จากแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น 
การสร้างแบบจำลองการกลายเป็นหินของซากดึกดำบรรพ์
จุดประสงค์  เมื่อผู้เรียนทำกิจกรรมตามชุดทดลองนี้ผู้เรียนจะเข้าใจขั้นตอนไม้กลายเป็นหินได้
อุปกรณ์และสารเคมี  1.  บีกเกอร์ชนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร  2.  แท่งแก้วคนหรือไม้ตะเกียบ  3.  ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมตะกรงและที่กั้นลม  4.  ไม้ขีดไฟ  5. รังบวบหรือเปลือกไม้แข็ง (แทนซากดึกดำบรรพ์)  6. ด้าย  7. ช้อนตักสารเบอร์ 2  8. น้ำกลั่น  9. จุนสี  (หรืออาจจะใช้สารอื่นก็ได้ ให้นำไปประยุกต์ใช้กันเอง)
ขั้นตอนการทดลอง  1.  เตรียมรังบวบ  2.  เตรียมจุนสี  (แทนแร่ธาตุที่ถูกละลายในแหล่งน้ำ)  3.  เตรียมสารละลายจุนสีอิ่มตัวยวดยิ่ง  (แทนแหล่งน้ำที่ละลายแร่ธาตุในรูปของสารละลาย)  4. นำจุนสีใส่บีกเกอร์ + น้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร  เติมจุนสีลงไปเรื่อย  ๆ  คนจนกระทั่งไม่ละลาย  (ส่วนที่ไม่ละลายคือส่วนเกินของแร่ธาตุ)  5. นำบีกเกอร์ไปตั้งไฟจนกระทั่งละลายหมด  ยกลงตั้งทิ้งไว้ให้เย็น  6.  ตัดรังบวบให้มีขนาดพอเหมาะใช้ด้ายผูกรังบวบเ้ข้ากับไปตะเกียบหรือแท่งแก้วคนนำไปผูกแช่ในสารละลายอิ่มตัวยิ่งยวด ทิ้งไว้ประมาณ  30 นาที  7. สังเกตพบว่าผลึกจุนสีแข็งตัวแทรกอยู่ในช่องว่างของเนื้อเยื่อรังบวบ  แทนการกลายเป็นหินของไม้
สรุป  การกลายเป็นหินของซากดึกดำบรรพ์  เกิดจากแร่ธาตุต่าง  ๆ  ที่ละลายในแหล่งน้ำในรูปของสารละลายอิ่มตัวยวดยิ่งเข้าแทรกในเนื้อเยื่อไม้แล้วเกิดการตกผลึกภายใน  สีของผลึกขึ้นอยู่กับชนิดของแร่ธาตุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น