วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไฟฟ้าเบื้องต้น

วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น
แนวคิดหลัก
    เมื่อต่อหลอดไฟกับแบตเตอรี่ทำให้หลอดไฟสว่าง  แสดงว่าหลอดไฟได้รับพลังงานจากแบตเตอรี่และถ้าได้รับพลังงานมากขึ้นก็จะสว่างมากขึ้น  ขณะที่หลอดไฟสว่างมากขึ้นค่าที่อ่านได้จากโวลต์มิเตอร์ก็เพิ่มมากขึ้นด้วย  ค่าที่อ่านได้จากโวลต์มิเตอร์เป็นค่าความแตกต่างระหว่างพลังงานไฟฟ้าที่ปลายขั้วทั้งสองของหลอดไฟ ซึ่งเรียกว่าความต่างศักย์ไฟฟ้า  ความสว่างของหลอดไฟยังมีความสัมพันธ์กับค่าที่อ่านได้จากอมมิเตอร์  โดยเมื่อหลอดสว่างมากขึ้น  ค่าที่อ่านจากแอมมิเตอร์ก็มากขึ้นด้วย  ค่าที่อ่านได้จากแอมมิเตอร์เป็นค่ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอดไฟและผ่านแอมมิเตอร์  อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้าต่อค่ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำที่มีอุณหภูมิคงตัวจะมีค่าเท่ากับความต้านทางไฟฟ้า  ซึ่งเป็นไปตามกฎของโอห์ม  ลวดตัวนำชนิดเดียวกันที่ยาวเท่ากันแต่มีพื้นที่หน้าตัดต่างกันจะให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ไม่เท่ากัน เพราะค่าความต้านทางไฟฟ้าไม่เท่ากัน  โดยพื้นที่หน้าตัดมากความต้านทานไฟฟ้าจะน้อย  พื้นที่หน้าตัดน้อยความต้านทานไฟฟ้าจะมาก และลวดตัวนำต่างชนิดกันที่ยาวเท่ากันและมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากันจะให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ไม่เท่ากัน
   นักเรียนสามารถอ่านหาความรู้เพิ่มเติมได้จาก
1. http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355203/electroniccur1.htm
2.กฎของโอห์ม http://www.maceducation.com/e-knowledge/2432209100/09.htm
3.การหากำลังไฟฟ้า http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/electric4/topweek7.htm
4.ชนิดและสัญลักษณ์ของตัวต้านทาน http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/electric4/topweek12.htm
5. ไดโอด http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet7/diode_9.htm
6. อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1303


ที่มา  เอกสารสำหรับผู้รับการอบรม  การอบรมครูด้วยระบบทางไกล  หลักสูตรมาตรฐานการอบรมครู  ปีที่ 3

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ

แนวคิดหลัก
    ระบบนิเวศประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นองค์ประกอบทางชีวภาพ  และสิ่งไม่มีชีวิตซึ่งเป็นองค์ประกอบทางกายภาพ  ระบบนิเวศคือระบบที่มีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต  โดยใช้ทรัพยากรในสิ่งแวดล้อมร่วมกัน  ภายในระบบนิเวศมีการถ่ายทอดพลังงานระหว่างสิ่งมีชีวิตเป็นทอด  ๆ  โดยแสดงได้ในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร  และมีการหมุนเวียนสารจากสิ่งแวดล้อมสู่สิ่งมีชีวิตและจากสิ่งมีชีวิตสู่สิ่งแวดล้อม  ซึ่งการถ่ายทอดพลังงานและการหมุนเวียนสารจะเกิดขึ้นควบคู่กัน
    สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กันในลักษณะต่าง  ๆ  เช่นภาวะพึ่งพากัน  ภาวะปริต  ภาวะอิงอาศัย  เป็นต้น  โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายทางชีวภาพมาก
    ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง  ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศ  โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ต่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน  ความหลากหลายทางชีวภาพแบ่งออกได้เป็น  3  ระดับ  ได้แก่  ความหลากหลายของระบบนิเว  ความหลากหลายของชนิดและความหลากหลายทางพันธุกรรม  ซึ่งแต่ละระดับไม่สามารถแยกออกจากกันได้  ความหลากหลายทางชีวภาพมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านอาหาร  ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม  ทำยารักษาโรค  เป็นที่อยู่อาศ
ความเข้าใจคลาดเคลื่อน
 1.  ผู้บริโภคสัตว์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถ้ามีเหยื่อเป็นจำนวนมากในระบบนิเวศถึงแม้ว่าจะปราศจากพืชก็ตาม
(ที่ถูกต้องแล้วสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถ้าปราศจากพืชซึ่งเป็นผู้ผลิต)
2.  แสงอาทิตย์และแก๊สออกซิเจนไม่สามารถผ่านลงสู่แหล่งน้ำได้  ดังนั้นพืชน้ำจึงไม่ใช่ผู้ผลิต
(ที่ถูกต้องแล้ว แสงอาทิตย์และแก๋สออกซิเจนสามารถผ่านลงสู่น้ำได้ และพืชทุกชนิดเป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศ)
3. การที่สิ่งมีชีวิตกินพืชเป็นจำนวนมากกว่าสิ่งมีชีวิตกินสตว์ เป็นเพราะมนุษย์นิยมเลี้ยงสิ่งมีชีวิตกินพืชมากกว่าสิ่งมีชีวิตกินสัตว์
(ที่ถูกต้องแล้ว สิ่งมีชีวิตกินพืชมีจำนวนมากกว่าสิ่งมีชีวิตกินสัตว์ เนื่องจากในธรรมชาติมีการควบคุมจำนวนของผู้ผลิตและผู้บริโภคลำดับต่าง  ๆ  ให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม  กล่าวคือ  ผู้ผลิตมีจำนวนมากที่สุด  สิ่งมีชีวิตกินพืชมีจำนวนมากกว่าสิ่งมีชีวิตกินสัตว์)




ที่มา  เอกสารสำหรับผู้รับการอบรม  การอบรมครูด้วยระบบทางไกล  หลักสูตรมาตรฐานการอบรมครูปีที่ 3

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การใช้สื่อ lms

วันที่ 18 พ.ค.นี้ ผมได้รับคำสั่งให้ไปอบรม lms ที่โรงแรมสีมาธานี  ดังนั้นจึงเสนอบทความ lms เพื่อรู้จักกันดังนี้
LMS คืออะไร 

LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management Systemหรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ 



องค์ประกอบ LMS

LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้

1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ

2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media 

3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน

4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้

5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้



ที่มา  www.kroobannok.com/1585

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การผลิตสื่อการสอนวิทยาศาสตร์

เมื่อวันที่ 27 - 29 เมษายน 2554  ได้ไปอบรมการผลิตสื่อการสอนทางวิทยาศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  โดย อาจารย์พันธุ์ทิพย์  ทิมสุกใส  จึงขออนุญาตนำบทความมาเผยแพร่เพื่อเพื่อนครูนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการสอน   หมายถึง สิ่งใดก็ได้ที่เมื่อผู้สอนนำไปใช้ สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ
ความหมายของนวัตกรรม  หมายถึง  เป็นสิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือปรับปรุงจากกระบวนการเดิม  เพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น  นวัตกรรมจึงเป็นชนิดหนึ่งของสื่อ
ต่อไปนี้ก็เป็นเทคนิคการผลิตสื่อวิทยาศาสตร์จากแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น 
การสร้างแบบจำลองการกลายเป็นหินของซากดึกดำบรรพ์
จุดประสงค์  เมื่อผู้เรียนทำกิจกรรมตามชุดทดลองนี้ผู้เรียนจะเข้าใจขั้นตอนไม้กลายเป็นหินได้
อุปกรณ์และสารเคมี  1.  บีกเกอร์ชนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร  2.  แท่งแก้วคนหรือไม้ตะเกียบ  3.  ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมตะกรงและที่กั้นลม  4.  ไม้ขีดไฟ  5. รังบวบหรือเปลือกไม้แข็ง (แทนซากดึกดำบรรพ์)  6. ด้าย  7. ช้อนตักสารเบอร์ 2  8. น้ำกลั่น  9. จุนสี  (หรืออาจจะใช้สารอื่นก็ได้ ให้นำไปประยุกต์ใช้กันเอง)
ขั้นตอนการทดลอง  1.  เตรียมรังบวบ  2.  เตรียมจุนสี  (แทนแร่ธาตุที่ถูกละลายในแหล่งน้ำ)  3.  เตรียมสารละลายจุนสีอิ่มตัวยวดยิ่ง  (แทนแหล่งน้ำที่ละลายแร่ธาตุในรูปของสารละลาย)  4. นำจุนสีใส่บีกเกอร์ + น้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร  เติมจุนสีลงไปเรื่อย  ๆ  คนจนกระทั่งไม่ละลาย  (ส่วนที่ไม่ละลายคือส่วนเกินของแร่ธาตุ)  5. นำบีกเกอร์ไปตั้งไฟจนกระทั่งละลายหมด  ยกลงตั้งทิ้งไว้ให้เย็น  6.  ตัดรังบวบให้มีขนาดพอเหมาะใช้ด้ายผูกรังบวบเ้ข้ากับไปตะเกียบหรือแท่งแก้วคนนำไปผูกแช่ในสารละลายอิ่มตัวยิ่งยวด ทิ้งไว้ประมาณ  30 นาที  7. สังเกตพบว่าผลึกจุนสีแข็งตัวแทรกอยู่ในช่องว่างของเนื้อเยื่อรังบวบ  แทนการกลายเป็นหินของไม้
สรุป  การกลายเป็นหินของซากดึกดำบรรพ์  เกิดจากแร่ธาตุต่าง  ๆ  ที่ละลายในแหล่งน้ำในรูปของสารละลายอิ่มตัวยวดยิ่งเข้าแทรกในเนื้อเยื่อไม้แล้วเกิดการตกผลึกภายใน  สีของผลึกขึ้นอยู่กับชนิดของแร่ธาตุ